เมนู

บทว่า นตฺถิ อยํ โลโก ความว่า โลกนี้ไม่มีสำหรับผู้ที่ตั้งอยู่
ในโลกหน้า. บทว่า นตฺถิ ปโร โลโก ความว่า โลกหน้าไม่มีแม้สำหรับ
ผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้. มิจฉาทิฏฐิบุคคล แสดงว่า สัตว์ทั้งหมด (ตายแล้ว) ย่อม
ขาดสูญ ในโลกนั้น ๆ นั่นเอง. ด้วยบทว่า นตฺถิ มาตา นตฺถิ ปิตา
มิจฉาทิฏฐิบุคคล กล่าวโดยสามารถแห่งการปฏิบัติชอบ และการปฏิบัติผิดใน
มารดา บิดา เหล่านั้นว่าไม่มีผล. บทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา
ความว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์ ที่จะจุติแล้วเกิดไม่มี. ความบริบูรณ์ ชื่อว่า สมฺปทา
ความที่ศีลบริบูรณ์ไม่บกพร่อง ชื่อว่า สีลสัมปทา. แม้ในบททั้งสองที่เหลือ
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อตฺถิ ทินฺนํ เป็นต้น นักศึกษาพึงถือเอาโดย
นัยที่ตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.
จบอรรถกถาอยสูตรที่ 5

6. อปัณณกสูตร



ว่าด้วยวิบัติ 3 และสัมปทา 3



[558] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิบัติ 3 นี้ วิบัติ 3 คืออะไร คือ
สีลวิบัติ จิตตวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ
สีลวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำปาณาติบาต
ฯลฯ สัมผัปปลาป นี้เรียกว่า สีลวิบัติ
จิตตวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้มีอภิชฌา มีใจ
พยาบาท นี่เรียกว่า จิตตวิบัติ

ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความ
เห็นวิปริตว่า (1) ทานไม่มีผล ฯลฯ สอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้ไม่มีในโลก
นี่เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ
สัตว์ทั้งหลายเพราะกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก
เหตุสีลวิบัติบ้าง เหตุจิตตวิบัติบ้าง เหตุทิฏฐิวิบัติบ้าง เปรียบเหมือนลูกบาศก์
ซัดขึ้นแล้ว ย่อมกลับมาตั้งอยู่โดยที่ใด ๆ ก็กลับมาตั้งอยู่อย่างดี ฉันใด สัตว์
ทั้งหลายเพราะกายแตกตายไป ฯลฯ เหตุทิฏฐิวิบัติบ้าง ฉันนั้น เหมือนกัน
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ 3
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 3 นี้ สัมปทา 3 คืออะไรบ้าง คือ
สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา
สีลสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นจากปาณา-
ติบาต ฯลฯ สัมผัปปลาป นี่เรียกว่า สีลสัมปทา
จิตตสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา
ไม่มีใจพยาบาท นี่เรียกว่า จิตตสัมปทา
ทิฏฐิสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ มี
ความเห็นไม่วิปริตว่า (1) ทานมีผล ฯลฯ สอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้ มีอยู่
ในโลก นี่เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา
สัตว์ทั้งหลายเพราะกายแตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เหตุ
สีลสัมปทาบ้าง เหตุจิตตสัมปทาบ้าง เหตุทิฏฐิสัมปทาบ้าง เปรียบเหมือน
ลูกบาศก์ ซัดขึ้นแล้ว ย่อมกลับมาตั้งอยู่โดยที่ใด ๆ ก็กลับมาตั้งอยู่อย่างดี
ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเพราะกายแตกตายไป ฯลฯ เหตุทิฏฐิสัมปทาบ้าง ฉันนั้น
เหมือนกัน นี้แล ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 3
จบอปัณณกสูตรที่ 6

อรรถกถาอปัณณกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอปัณณกสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปณฺณโก มณิ ได้แก่ลูกบาศก์ (ลูกสะกา) อันประกอบ
แล้วด้วย เหลี่ยม 6 เหลี่ยม. บทว่า สุคตึ สคฺคํ ได้แก่ โลกคือสวรรค์
ในบรรดาสวรรค์ 6 ชั้น มีชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
ในพระสูตรนี้ ตรัสธรรมทั้งสองประการ คือศีลและสัมมาทิฏฐิ คลุกเคล้ากันไป
จบอรรถกถาอปัณณกสูตรที่ 6

7. กัมมันตสูตร



ว่าด้วยเรื่องวิบัติ 3 และสัมปทา 3



[559] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิบัติ 3 นี้ วิบัติ 3 คืออะไรบ้าง
คือ กัมมันตวิบัติ (ความเสียทางการงาน) อาชีววิบัติ (ความเสียทางอาชีพ)
ทิฏฐิวิบัติ (ความเสียทางความเห็น)
กัมมันตวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้มักทำปาณา-
ติบาต ฯลฯ สัมผัปปลาป นี่เรียกว่า กัมมันตวิบัติ
อาชีววิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้หาเลี้ยงชีพในทาง
ผิด สำเร็จความเป็นอยู่โดยมิจฉาอาชีวะ นี่เรียกว่า อาชีววิบัติ
ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความ
เห็นวิปริตว่า ฯลฯ (1) ทานไม่มีผล ฯลฯ สอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้ ไม่มี
ในโลก นี่เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ